ความยั่งยืน

Edit Content

การดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืนเป็นรากฐานสำคัญในการช่วยเสริมสร้างให้กลุ่มบริษัทฟอร์ทเติบโตได้อย่างมั่นคง บริษัทจึงมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท และสอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่นำไปสู่การปฏิบัติได้

บริษัทได้กำหนดนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักบรรษัทภิบาลโดยตระหนักถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียในทุกมิติ ได้แก่ มิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติเศรษฐกิจ ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีตามมาตรฐานสากลและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) อีกทั้ง บริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนและการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิตพร้อมไปกับการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้คนในชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

Sustainable Development Goals: SDGs

บริษัทกำหนดนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนเพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กรในการบรรลุเป้าหมายในทุกมิติ และมีการส่งเสริมการสร้างความตระหนักด้านความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซคุณค่าของบริษัท โดยมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บรรษัทภิบาล และการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีหน้าที่กำกับดูแลและเห็นชอบแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการด้านการบริหารความเสี่ยงและการพัฒนาด้าน ESG ให้มีความสอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานด้านการบริหารความยั่งยืนองค์กรในระดับประเทศและระดับสากล ตลอดจนผลักดันการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามกลยุทธ์ความยั่งยืน และรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานด้านความยั่งยืนต่อคณะกรรมการบริษัท

บริษัทมุ่งมั่นในการเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ประกอบธุรกิจให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน คำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียในทุกมิติ โดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) เป็นหนึ่งในกรอบวิธีปฏิบัติอ้างอิงในการจัดทำทิศทางกลยุทธ์ขององค์กร โดยบริษัทได้วางแนวทางการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างและขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายใน 3 มิติ ตามแนวทาง ESG (Environment Social และ Governance) ดังนี้

มุ่งมั่นดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า เช่น การลดการ รีไซเคิลและการนำมาใช้ใหม่ เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่การออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตสินค้า การขนส่ง การจำหน่าย ไปจนถึงการใช้สินค้าของลูกค้า ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน การใช้น้ำ การสร้างของเสียและมลพิษ รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

เป้าหมาย: การส่งมอบประสบการณ์ที่ดีและมีคุณภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ไม่เลือกปฏิบัติและให้โอกาสกับคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ส่งเสริมการจ้างแรงงานในท้องถิ่น ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และกลุ่มเปราะบาง โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ผิวสี ศาสนา อายุ เพศ  เพศสภาพ ระดับการศึกษา ความคิดเห็นทางการเมือง เป็นต้น และคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ ปกป้องสิทธิแรงงาน ความปลอดภัย สุขอนามัย สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ควบคู่กับการบริหารและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง จัดให้มีสวัสดิการที่เหมาะสม เพื่อสร้างคุณค่าและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน สังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืน

เป้าหมาย: การสร้างสังคมและคุณภาพชีวิตที่ดีสู่ความยั่งยืน

คำนึงถึงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง และให้ความสำคัญในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน การแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม และให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ความต่อเนื่องทางธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน สร้างความน่าเชื่อถือ

ให้แก่ธุรกิจ และเป็นการสะท้อนศักยภาพของธุรกิจที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน

เป้าหมาย: การสร้างการเติบโตทางธุรกิจและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

บริษัทได้มีการถ่ายทอดนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร โดยมีการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนองค์กร เพื่อบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล และบริษัทได้มีการสื่อสารข้อมูลด้านความยั่งยืนให้แก่บุคคลภายนอกและภายในองค์กร โดยมีการเปิดเผย นโยบายด้านความยั่งยืน ผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน นโยบายการกำกับดูแลกิจการ และกิจกรรมด้านความยั่งยืนต่าง ๆ ผ่านรายงานประจำปี (56-1 One Report และ Structured Data) และเว็ปไซต์นักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัท เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านความยั่งยืนได้อย่างต่อเนื่องและครบถ้วน นอกจากนี้ บริษัทได้กำหนดให้เรื่องของความยั่งยืนเป็นหนึ่งในหัวข้อของการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ รวมไปถึงบริษัทได้เตรียมระบุประเด็นด้านความยั่งยืนใน Supplier Agreement Contact สำหรับการทำธุรกิจกับคู่ค้า เพื่อร่วมกันผลักดันการทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืน และเพิ่มการนำเสนอข้อมูลด้านความยั่งยืนผ่าน Corporate Presentation ในการประชุมพบปะกับนักลงทุน ตลอดจนช่องทางออนไลน์ของบริษัท เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

Edit Content

บริษัทให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการความยั่งยืนของกิจกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ (Value Chain) ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ โดยให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทฟอร์ทให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องทำให้ธุรกิจมีความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน บริษัทได้มีการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบในกระบวนการดำเนินธุรกิจบนห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตลอดทั้งประเมินความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อทราบถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนและคัดกรองประเด็นที่มีนัยสำคัญให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้านเพื่อป้องกันความเสี่ยงและลดผลกระทบที่อาจทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก รวมถึงการพัฒนาความสัมพันธ์และเสริมสร้างคุณค่าร่วมในห่วงโซ่คุณค่า การทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ

Flux_Dev_Two_business_professionals_in_formal_suits_sitting_at_2

ห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจของบริษัท (Value Chain)

บริษัทให้ความสำคัญในการพัฒนาสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ โดยมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) รวมไปถึงความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นสำคัญ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และให้บุคลากรมีส่วนร่วมและมีความมั่นคงในอาชีพให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนา และสร้างคุณค่าให้องค์กร รวมทั้งสามารถพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างต่อเนื่อง โดยห่วงโซ่คุณค่าของกลุ่มบริษัทมีดังนี้

แนวทางการมีส่วนร่วมและการสื่อสาร

  • การประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี
  • กิจกรรมบริษัทจดทะเบียนพบนักลงทุนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและการเข้าเยี่ยมชมโรงงาน
  • การติดต่อกับบริษัทผ่านทางโทรศัพท์ อีเมลและเว็ปไซต์
  • รายงานประจำปี
  • การรายงานผลการดำเนินงานรายไตรมาส
  • การเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ผ่านช่องทางการสื่อสารขององค์กร
  • การประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี
  • กิจกรรมบริษัทจดทะเบียนพบนักลงทุนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและการเข้าเยี่ยมชมโรงงาน
  • การติดต่อกับบริษัทผ่านทางโทรศัพท์ อีเมลและเว็ปไซต์
  • รายงานประจำปี
  • การรายงานผลการดำเนินงานรายไตรมาส

ประเด็นความสนใจและความคาดหวัง

  • บริษัทมีผลประกอบการดี มีการเติบโตอย่างยั่งยืน
  • บริษัทมีการสื่อสาร ให้ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • มีระบบการบริหารความเสี่ยง

มีระบบการตรวจสอบและการควบคุมที่ดี

การตอบสนองของบริษัท

  • การจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี
  • การร่วมกิจกรรมบริษัทจดทะเบียนพบนักลงทุนของตลท. และจัดกิจกรรมเยี่ยมชมโรงงาน
  • การเปิดเผยข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา ผ่านทาง เว็ปไซต์ รายงานประจำปี

กำหนดให้มีนักลงทุนสัมพันธ์เพื่อตอบคำถามและให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนในด้านการลงทุน

แนวทางการมีส่วนร่วมและการสื่อสาร

  • การประเมินผลการปฏิบัติงาน
  • การรับฟังข้อร้องเรียนและข้อคิดเห็นพนักงาน
  • การสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ

ประเด็นความสนใจและความคาดหวัง

  • การจ่ายค่าตอบแทน มีสวัสดิการที่ดี
  • สภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน
  • ความเท่าเทียมและความเป็นธรรม
  • ความมั่นคงและความก้าวหน้าในอาชีพ

การตอบสนองของบริษัท

  • การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของพนังงาน
  • การจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม
  • การประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรม
  • เคารพในสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

แนวทางการมีส่วนร่วมและการสื่อสาร

  • การรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะข้อร้องเรียนของลูกค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ
  • การจัดกิจกรรมร่วมกัน

ประเด็นความสนใจและความคาดหวัง

  • สินค้าและบริการมีคุณภาพ
  • ความรับผิดชอบต่อสินค้าและบริการ
  • ปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขของสัญญา
  • การได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว
  • การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท
  • เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกค้าแล้วบริษัท

การตอบสนองของบริษัท

  • การจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการมีคุณภาพ
  • การปฏิบัติต่อลูกค้าภายใต้สัญญา ข้อตกลงและเงื่อนไขที่กำหนด
  • การให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริการ การรับฟัง การแก้ไข ปัญหาให้ลูกค้าอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพลงทุน

แนวทางการมีส่วนร่วมและการสื่อสาร

  • การเข้าเยี่ยมชมโรงงาน
  • การจัดประชุมร่วมกัน

ประเด็นความสนใจและความคาดหวัง

  • ดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรมและมีจริยธรรมทางธุรกิจ
  • การพัฒนาความร่วมมือในการทำธุรกิจร่วมกัน

การตอบสนองของบริษัท

  • การปฏิบัติต่อคู่ค้าตามข้อตกลงและเงื่อนไขของสัญญาที่กำหนด
  • การพัฒนาและรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับคู่ค้าและคู่สัญญา

แนวทางการมีส่วนร่วมและการสื่อสาร

  • การติดต่อกับบริษัทผ่านทางจดหมายและสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ประเด็นความสนใจและความคาดหวัง

  • ปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขของสัญญาที่กำหนด

การตอบสนองของบริษัท

  • การปฏิบัติตามสัญญา กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานการปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ

แนวทางการมีส่วนร่วมและการสื่อสาร

  • การจัดประชุมร่วมกัน

ประเด็นความสนใจและความคาดหวัง

  • การปฏิบัติตามกรอบการแข่งขันที่ดีไม่บิดเบือนหรือใส่ร้ายกันและกัน

การตอบสนองของบริษัท

  • การปฏิบัติตามนโยบายการแข่งขันทางธุรกิจภายใต้กรอบการแข่งขันที่ดี

แนวทางการมีส่วนร่วมและการสื่อสาร

  • การจัดประชุมร่วมกัน
  • การติดต่อกับบริษัทผ่านทางจดหมายและสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ประเด็นความสนใจและความคาดหวัง

  • การชำระเงินคืนตามสัญญา
  • การให้ความร่วมมือเมื่อมีการร้องขอข้อมูลเพิ่มเติม

การตอบสนองของบริษัท

  • ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาเงินกู้อย่างเคร่งครัด
  • ให้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินในการเปิดเผยรายงานทางการเงินอย่างเหมาะสม
Edit Content

บริษัทได้กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับและข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อมและลดการสร้างมลพิษที่มีผลต่อระบบนิเวศน์และชุมชนจากการดำเนินงานของบริษัท รวมถึงมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ได้มีการร่วมปลูกฝังและช่วยปรับพฤติกรรมใหม่ให้กับพนักงานทุกคนในองค์กรให้รับรู้ถึงการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ทางบริษัทได้วางไว้ เช่น การควบคุมอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในสำนักงานให้เหมาะสม การปิดเครื่องปรับอากาศและปิดไฟในช่วงพักเที่ยง การเปลี่ยนหลอดไฟแสงสว่างสำนักงานเป็นหลอดไฟ LED ทั่วทั้งสำนักงาน การเปิดไฟเฉพาะจุดที่ต้องการใช้งานการเดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ การนำกระดาษที่ใช้แล้วหนึ่งหน้ากลับมาใช้งานให้เกิดประโยชน์มากขึ้น (reuse) เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทได้มีการจัดฝึกอบรมที่เกี่ยวกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมรวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้พนักงานทุกคนเกิดความรู้ความเข้าใจและเป็นการาปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง

การจัดการน้ำ

บริษัทได้กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับและข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อมและลดการสร้างมลพิษที่มีผลต่อระบบนิเวศน์และชุมชนจากการดำเนินงานของบริษัท รวมถึงมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ได้มีการร่วมปลูกฝังและช่วยปรับพฤติกรรมใหม่ให้กับพนักงานทุกคนในองค์กรให้รับรู้ถึงการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ทางบริษัทได้วางไว้ เช่น การควบคุมอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในสำนักงานให้เหมาะสม การปิดเครื่องปรับอากาศและปิดไฟในช่วงพักเที่ยง การเปลี่ยนหลอดไฟแสงสว่างสำนักงานเป็นหลอดไฟ LED ทั่วทั้งสำนักงาน การเปิดไฟเฉพาะจุดที่ต้องการใช้งานการเดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ การนำกระดาษที่ใช้แล้วหนึ่งหน้ากลับมาใช้งานให้เกิดประโยชน์มากขึ้น (reuse) เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทได้มีการจัดฝึกอบรมที่เกี่ยวกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมรวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้พนักงานทุกคนเกิดความรู้ความเข้าใจและเป็นการาปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง

การตั้งเป้าหมายการจัดการน้ำ

Paper boat on water
เป้าหมาย
  • ลดการใช้น้ำ (Reduction of water withdrawal)
 ค่าใช้จ่ายการใช้น้ำของบริษัท 2565 2566 2567
ค่าใช้จ่ายการใช้น้ำรวม  2,226,560.96 2,391,035.38 2,171,489.67

การจัดการขยะและของเสีย

บริษัทได้กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับและข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อมและลดการสร้างมลพิษที่มีผลต่อระบบนิเวศน์และชุมชนจากการดำเนินงานของบริษัท รวมถึงมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ได้มีการร่วมปลูกฝังและช่วยปรับพฤติกรรมใหม่ให้กับพนักงานทุกคนในองค์กรให้รับรู้ถึงการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ทางบริษัทได้วางไว้ เช่น การควบคุมอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในสำนักงานให้เหมาะสม การปิดเครื่องปรับอากาศและปิดไฟในช่วงพักเที่ยง การเปลี่ยนหลอดไฟแสงสว่างสำนักงานเป็นหลอดไฟ LED ทั่วทั้งสำนักงาน การเปิดไฟเฉพาะจุดที่ต้องการใช้งานการเดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ การนำกระดาษที่ใช้แล้วหนึ่งหน้ากลับมาใช้งานให้เกิดประโยชน์มากขึ้น (reuse) เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทได้มีการจัดฝึกอบรมที่เกี่ยวกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมรวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้พนักงานทุกคนเกิดความรู้ความเข้าใจและเป็นการาปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง

การตั้งเป้าหมายการจัดขยะและของเสีย

Paper boat on water
เป้าหมาย
  • การนำกลับมาใช้ซ้ำ
 ค่าใช้จ่ายการใช้น้ำของบริษัท 2565 2566 2567
ปริมาณขยะและของเสีย (กิโลกรัม)  - - 89,814.31
ปริมาณขยะและของเสีย ไม่อันตรายรวม (กิโลกรัม)  - - 76,749.41
ปริมาณขยะและของเสีย อันตรายรวม (กิโลกรัม)  - - 13,064.90

โครงการ “แยกขยะก่อนทิ้ง” ทำเองได้ง่าย ๆ ดีต่อใจ ดีต่อโลก

การตั้งเป้าหมายการใช้ทรัพยากรและการจัดการพลังงาน

การจัดการการใช้ทรัพยากรและการจัดการพลังงาน

กลุ่มบริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยมุ่งมั่นดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมระดับสากลและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร โดยกลุ่มบริษัทมีการรณรงค์ภายในองค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้แก่พนักงานเกี่ยวกับความสำคัญของการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการใช้ทรัพยากรน้ำมัน การใช้ไฟฟ้า หรือการใช้น้ำ โดยกลุ่มบริษัทจะมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ช่องทางอีเมลภายในองค์กรเพื่อให้พนักงานเข้าใจถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าว และมีการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีเป็นตัวอย่างให้พนักงานสามารถนำไปปรับใช้ในประจำวันได้ ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากพนักงานที่เข้ามาปฏิบัติงานที่สำนักงานในการปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่มีการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ปิดไฟในพื้นที่ที่ไม่ใด้ใช้งาน หรือในช่วงเวลาพักกลางวัน ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าและสำนักงานเมื่อไม่ได้ใช้งาน ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมถึงแจ้งข้อมูลหากพบการชำรุดของอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ฝ่ายอาคารและสถานที่จะมีกำหนดการล้างเครื่องปรับอากาศเป็นประจำทุกปี และตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำอย่างสม่ำเสมอ หากมีการรั่วไหลหรือชำรุดต่างๆ ฝ่ายอาคารและสถานที่จะรีบดำเนินการซ่อมแชมต่อไป การปฏิบัติดังที่กล่าวล่าวมาข้างต้น จะมีส่วนช่วยลดผลกระทบเชิงลบต่อโลก ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องมาถึงตัวบุคคล ความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ และสภาพสังคม เช่น ภาวะโลกร้อน ฝนกรด มลภาวะทางอากาศ มลภาวะทางน้ำ ในลำดับถัดไป

การตั้งเป้าหมายการใช้ทรัพยากรและการจัดการพลังงาน

Paper boat on water
เป้าหมาย
  • ลดการใช้พลังงานและเชื้อเพลิงซ้ำ
 ค่าใช้จ่ายการใช้ไฟฟ้า 2565 2566 2567
ค่าใช้จ่ายการใช้ไฟฟ้ารวม (บาท)  45,738,928.55 48,855,598.32 40,352,094.74
 ปริมาณการใช้น้ำมันและเชื้อเพลิง 2565 2566 2567
น้ำมันดีเซล (ลิตร)  77,083.29 84,718.79 205,292.06
น้ำมันเบนซิน (ลิตร)  4,088.55 3,957.33 7,465.92
 ค่าใช้จ่ายการใช้น้ำมันและเชื้อเพลิง 2565 2566 2567
ค่าใช้จ่ายการใช้น้ำมันและเชื้อเพลิงรวม (บาท)  28,437,371.42 28,536,212.54 32,243,768.20

การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

กลุ่มบริษัทถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบทางอ้อมจากการใช้ไฟฟ้า ซึ่งไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน เนื่องจากถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของโลกในปัจจุบัน ซึ่งถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศจากการเผาไหม้ ด้วยสาเหตุดังกล่าวบริษัทจึงได้มีการรณรงค์ให้ผู้บริหารและพนักงาน มีการปรับพฤติกรรมในการลดการใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เพื่อช่วยในการปลูกฝังจิตสำนึกของพนักงานในการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนั้นบริษัทจึงได้กำหนด

แนวทางการปฏิบัติในการอนุรักษ์พลังงาน
  • มีการตรวจสอบตารางการดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศประจำปีให้ครบถ้วน
  • มีมาตรการตรวจสอบบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ตามระยะเวลาที่กำหนด
  • มีมาตรการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ตามระยะเวลาที่กำหนด
  • ร่วมเดินทางไปด้วยกันหากไปในเส้นทางเดียวกันและมีการศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทางเสมอ
  • ขอความร่วมมือให้พนักงานมีการแยกประเภทขยะเพื่อช่วยลดขั้นตอนและลดพลังงานที่ใช้ในกระบวนการการทำลายขยะ
  • รณรงค์ให้พนักงานพกถุงผ้า กล่องข้าว ขวดน้ำไปด้วยทุกครั้ง ช่วยลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นจากบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

  • ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ กลุ่มบริษัทจึงได้มีการกำหนดแผนการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เพื่อสนับสนุนการลดภาวะโลกร้อนและส่งเสริมความยั่งยืนในระยะยาว โดยบริษัทย่อยได้เริ่มทยอยติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคาร (Solar Rooftop) เพื่อผลิตพลังงานสะอาดและลดการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก อีกทั้ง บริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจทางด้านการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ดำเนินการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์กร และได้จัดทำรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ใช้มาตรฐานสากลในการวัดผลและได้รับการทวนสอบโดย บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) โดยอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO
     ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2565 2566 2567
    ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวม (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า, tCO2e)  - - 10,273.00
    Edit Content

    กลุ่มบริษัทมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมกับการแบ่งปันและการรับผิดชอบต่อสังคม โดยได้กำหนดนโยบายและมีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม อาทิ การเคารพกฎหมาย วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และสิทธิมนุษยชนสากล การไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลรวมถึงเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรี ไม่แบ่งแยกการศึกษา เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนาและเพศ การให้การสนับสนุนการจ้างงานแก่กลุ่มผู้ด้วยโอกาส การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค และการร่วมพัฒนาชุมชนหรือสังคม รวมถึงบริษัทได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมในการจัดตั้งโครงการที่สนับสนุนการมีรายได้เพิ่มของคนในชุมชน และการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่ช่วยยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชนให้ดียิ่งขึ้นผ่านกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ

    Edit Content

    การบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน

    บริษัทปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนตั้งแต่การจ้างงานจนถึงการดูแลพนักงานและบุคลากรเพื่อให้พนักงานและบุคลากรทุกคนเกิดความรู้สึกผูกพันเป็นครอบครัวเดียวกับองค์กร โดยในปี 2567 บริษัทไม่ได้รับการร้องเรียนว่ามีการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด และบริษัทมีการดำเนินงานด้านพนักงานที่สำคัญ

    เป้าหมาย

    บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ มุ่งมั่นเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของพนักงาน คู่ค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และชุมชนที่บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่ โดยมีเป้าหมายในการดำเนินงานอย่างเป็นธรรม เท่าเทียม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ และไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกรูปแบบ ตลอดจนส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย มีศักดิ์ศรี และเปิดกว้างสำหรับทุกคน

    แนวทางบริหารจัดการ

    1. บริษัทกำหนดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับกฎหมายไทย หลักการสากล เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) หลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGPs) และแนวทางขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยมีการกำกับดูแลผ่านคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
    2. บริษัทดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในองค์กรเอง และในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อระบุ ประเมิน และป้องกันการละเมิดที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงมีการทบทวนเป็นระยะ และพัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
    3. บริษัทจัดอบรมและกิจกรรมสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่พนักงานในทุกระดับ รวมถึงการให้ความรู้แก่คู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน
    4. บริษัทจัดให้มีช่องทางการร้องเรียนที่สะดวก ปลอดภัย และเป็นความลับ เพื่อให้พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างมั่นใจ พร้อมดำเนินการตรวจสอบข้อร้องเรียนอย่างโปร่งใส และให้การเยียวยาอย่างเป็นธรรม
    5. บริษัทมีระบบติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินความก้าวหน้าและนำข้อมูลมาพัฒนาปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการให้ดียิ่งขึ้น
    Edit Content

    การบริหารจัดการพนักงาน

    การจ้างงานผู้พิการหรือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ

    การจ้างงาน
    โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจ้างงานให้แก่ผู้พิการ บริษัทได้ให้ความสำคัญกับการยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต มุ่งสร้างโอกาสและการปฏิบัติที่เท่าเทียมแก่ผู้พิการให้ดีขึ้นเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 โดยผู้พิการทุกคนได้รับค่าตอบแทนที่ดีและได้รับสวัสดิการและสิทธิ์ต่าง ๆ เท่าเทียมกับพนักงานทั่วไปของบริษัท พร้อมทั้งได้รับมอบหมายงานที่เหมาะสมแก่ผู้พิการให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างสะดวกและมีความปลอดภัย เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ โดยในปี 2567 กลุ่มบริษัทมีการสนับสนุนให้ผู้พิการทำงานในสถานประกอบการ และได้มีการจ้างงานผู้พิการมาตรา 33 จำนวนทั้งหมด 11 คน

    ตัวอย่างกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR-After-Process) ของกลุ่มบริษัท
  • โครงการ “คนหาย บุญเติมช่วยหา” กับการมีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับคนสูญหาย ความช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์แก่สังคม โดยดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของช่องทางการตามหา “คนหาย” ร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา
  • โครงการ “บุญเติม รักษ์โลก” กิจกรรมจีวรรีไซเคิลขวดใส โดยขวดน้ำเปล่าจำนวน 10,000 ขวด นำไปแปรรูปเป็นผ้าห่มจำนวน 450 ผืน
  • โครงการ “Welfare Fun Fin” นวดคอ บ่า ไหล่ สนับสนุนผู้พิการทางสายตา


  • โครงการ ”จ้างผู้พิการเชิงสังคม”
  • โครงการ “ตู้ชื่นใจ”


  • กลุ่มบริษัทมุ่งมั่นที่สนับสนุนการขับเคลื่อนภารกิจให้คนพิการพึ่งพาตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ภายใต้โครงการ “ตู้ชื่นใจ” โดยทุก     1-2% จากยอดขายเครื่องดื่มจากตู้เต่าบินที่อยู่ในโครงการของตู้ชื่นใจจำนวนทั้งหมด 50 ตู้ จะถูกนำไปสนับสนุนภารกิจยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการที่ขาดแคลน โดยโครงการดังกล่าวจะถูกดำเนินงานผ่าน บริษัท คิดการดี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (Social Enterprise) ที่จัดตั้งโดยมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ทำหน้าที่เป็นแกนนำระดมทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกับภาคีทั่วประเทศคัดเลือกคนพิการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งบริษัทย่อยเป็นผู้ลงทุนติดตั้ง “ตู้เต่าบิน” ทั้งหมด และทุนสนับสนุนจะถูกขับเคลื่อนภารกิจช่วยเหลือคนพิการให้เข้าถึงโอกาสงานและอาชีพในภูมิลำเนาของตนเอง รวมถึงการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้พิการเพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

    การป้องกันการใช้แรงงานเด็ก
    บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ ให้ความสำคัญสูงสุดต่อการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งถือเป็นหลักการพื้นฐานด้านแรงงานที่บริษัทต้องยึดถืออย่างเคร่งครัด เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนอย่างเหมาะสม และป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากแรงงานที่ไม่เป็นธรรม

    แนวทางการดำเนินงาน

    นโยบายห้ามการใช้แรงงานเด็ก
    บริษัทกำหนดนโยบายอย่างชัดเจนในการห้ามการใช้แรงงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่ากฎหมายกำหนด รวมถึงห้ามไม่ให้มีการว่าจ้างเด็กในการทำงานที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย สุขภาพ จริยธรรม หรือการศึกษา

    การตรวจสอบอายุพนักงาน
    ในกระบวนการรับสมัครพนักงาน บริษัทดำเนินการตรวจสอบและยืนยันตัวตน รวมถึงอายุของผู้สมัครงานอย่างเข้มงวด เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานทุกคนมีอายุไม่น้อยกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด

    การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
    บริษัทกำหนดแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าและผู้รับจ้างช่วง โดยระบุให้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการห้ามใช้แรงงานเด็ก และมีการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานเป็นระยะ เพื่อป้องกันการเกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานเด็กทางอ้อม

    การสร้างความตระหนักรู้
    บริษัทจัดอบรมและเผยแพร่ความรู้เรื่องการห้ามใช้แรงงานเด็กแก่พนักงาน รวมถึงสื่อสารนโยบายนี้ไปยังคู่ค้า เพื่อร่วมกันยกระดับมาตรฐานทางจริยธรรมในอุตสาหกรรม

    การตรวจสอบและการรายงาน
    บริษัทมีระบบตรวจสอบภายในเพื่อประเมินความเสี่ยงและตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายการห้ามใช้แรงงานเด็กอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งจัดให้มีช่องทางการร้องเรียนที่ปลอดภัย สำหรับผู้ที่พบเห็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว

    การดูแลพนักงาน

    บุคลากรถือเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของบริษัท ซึ่งองค์กรจะเติบโตได้อย่างยั่งยืนต้องประกอบด้วยบุคลากรที่มีศักยภาพ และสามารถปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง บริษัทจึงมีการ ”พัฒนา” ศักยภาพของพนักงานควบคู่ไปกับ ”การดูแล” ผ่านการมอบสวัสดิการที่ดีเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานของบริษัท เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน

    1. การประเมินผลปฏิบัติงานประจำปี
      บริษัทดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี เพื่อวัดผลสำเร็จในการทำงานตามเป้าหมายที่กำหนด ทั้งในด้านผลงาน ความสามารถ และพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมขององค์กร การประเมินดังกล่าวนำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพ

    การวางแผนความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) และการพิจารณารางวัลตอบแทนที่เป็นธรรม

    1. ผลตอบแทนและสวัสดิการ
      พนักงานของบริษัทและบริษัทย่อย จะได้รับผลตอบแทนในลักษณะของค่าล่วงเวลา โบนัสประจำปี ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานหลัก (Key Performance indictor : KPI) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม ประกันอุบัติเหตุ ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เงินช่วยเหลือกรณี พนักงาน บิดา มารดา ภรรยา หรือบุตรเสียชีวิต เบี้ยงเลี้ยงปฏิบัติงานต่างจังหวัด เครื่องแบบพนักงาน และการจัดงานสังสรรค์ประจำปีที่บริษัทและบริษัทย่อย ในส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ ส่วนที่ 2 โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ และข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวกับกรรมการ (ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน)
    2. การประเมินผลความผูกพันพนักงาน
      บริษัทดำเนินการสำรวจความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงานเป็นประจำ โดยใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐาน เพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ ปรับปรุงนโยบาย การบริหารจัดการ และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วม เพิ่มความผูกพัน และลดอัตราการลาออกของพนักงาน

    การพัฒนาบุคลากร

    บริษัทมีนโยบายที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน บริษัทจึงส่งเสริมให้พนักงานได้พัฒนาความรู้ความสามารถในการทำงาน มุ่งเน้นการสร้างกระบวนการถ่ายทอดความรู้ภายในองค์กรจากบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญควบคู่กับการการเรียนรู้จากภายนอก โดยพัฒนาการเรียนรู้จากการปฏิบัติและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยการสอนงาน และการทำงานเป็นทีม รวมถึงการเรียนรู้จากภายนอกองค์กร ซึ่งประกอบด้วยการฝึกอบรมพัฒนาส่วนบุคคลและการสัมมนาทั่วไป อาทิ หลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ (FIRST Aid&CPR) หลักสูตรการใช้งานระบบติดตามบุคคล EMC หลักสูตรการบริหารจัดการความเสี่ยงของระบบงานด้านบัญชีและการเงิน หลักสูตรการอบรมยกระดับทักษะการบริการลูกค้าต่างประเทศ (International Business Service Improvement) หลักสูตรการพัฒนาเทคนิคกระบวนการคิดและการนำเสนอนวัตกรรมให้ตอบโจทย์อย่างสร้างสรรค์ และ หลักสูตรสร้างระบบ Customer Relation Management เพื่อการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น เป็นต้น

    โดยในปี 2567 พนักงานในกลุ่มบริษัทมีชั่วโมงการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้แก่พนักงานเฉลี่ย 105.62 ชั่วโมงต่อคน

    การส่งเสริมความผูกพัน

    บริษัทให้ความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท ผู้บริหารระดับสูง และพนักงานทุกระดับ ผ่านการจัดกิจกรรมสัมพันธ์ต่าง ๆ อาทิ กิจกรรมสังสรรค์ปีใหม่ประจำปี กิจกรรมทำบุญประจำปี กิจกรรมการแต่งกายและร่วมสนุกตามเทศกาลต่าง ๆ เป็นต้น และการทำสำรวจและ   รับฟังความคิดเห็นต่าง ๆ แลกเปลี่ยนแนวคิดมุมมองของพนักงาน เพื่อนำไปปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานและกระบวนต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บริษัทได้มีการประเมินความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อการดำเนินงานของบริษัท (Employee Engagement Survey) และมีแผนที่จะดำเนินการต่อเนื่องทุกปี

    Edit Content
    ความปลอดภัย อาชีวอนามัย การส่งเสริมความปลอดภัยให้กับพนักงาน

    บริษัทให้การสนับสนุน ส่งเสริม ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและบรรลุตามนโยบายอย่างต่อเนื่อง โดยมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้พนักงาน ผู้มาติดต่อ ผู้รับเหมา และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเผยแพร่ต่อสาธารณะ ดังนี้

  • ดำเนินธุรกิจด้วยการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • ให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการดำเนินกิจกรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัย และโรคจากการทำงาน
  • จัดหาและส่งเสริมให้พนักงานทุกคนสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานอย่างเหมาะสมและปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
  • กำหนดการซ้อมอพยพกรณีเกิดอัคคีภัยเป็นประจำทุกปี พร้อมกำหนดจุดรวมพลในทุกสำนักงาน
  • จัดให้มีการอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ (FIRST Aid&CPR) พร้อมติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจ AED ประจำ ณ สำนักงาน
  • การใช้ระบบสแกนนิ้วมือเข้า-ออกประตูสำนักงานและระบบลิฟต์โดยสาร เฉพาะผู้ที่มีสิทธิเข้า-ออก ขึ้น-ลงระหว่างสำนักงาน เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานและบริษัท
  • จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีและบริการวัคซีนประจำปี
  • จัดให้มีสถานที่ออกกำลังกาย Fitness Center และลานออกกำลังกาย เช่น สนามฟุตซอล สนามบาสเกตบอลของบริษัท


  • บริษัทมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต และดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงานอย่างเหมาะสม โดยในปี 2567 ไม่มีอุบัติเหตุพนักงานบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตที่เกิดขึ้นจากการทำงาน
    รายการ 2565 2566 2567
    จำนวนพนักงานทั้งหมด (คน) 3,495 3,218 2,864
    อัตราการบาดเจ็บจากการทำงานที่มีวันหยุดงาน (คน) 16 19 12
    อัตราการบาดเจ็บจากการทำงานที่มีวันหยุดงาน ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป (คน) 16 17 12
    อัตราการเสียชีวิตจากการทำงาน (คน) 0 0 0

    จำนวนพนักงานทั้งหมด (คน)

    อัตราการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นหยุดงาน (คน)

    อัตราการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นหยุดงาน ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป (คน)

    อัตราการเสียชีวิตจากการทำงาน (คน)